Skip to content

ประวัติและยุคของมวยโคราช

          ประวัติศาสตร์ของกีฬามวยไทย กล่าวถึงมวยไทย 4 ภาค ได้แก่ มวยลพบุรี มวยไชยา มวยท่าเสา และมวยโคราช โดยมวยโคราช เป็นมวยที่มีชื่อเสียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสานของประเทศไทย ถูกตั้งชื่อตามชื่อของจังหวัดนครราชสีมา หรือที่รู้จักกันในนาม “โคราช” เป็นมวยที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยมีเป้าหมายในการฝึกซ้อมเพื่อการปกป้องประเทศชาติ

วิธีการฝึกมวยโคราชในสมัยโบราณ​

          การฝึกซ้อมมวยไทยในสมัยโบราณแม้จะไม่มีอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมโดยเฉพาะเหมือนในปัจจุบัน แต่พื้นฐานของการออกกำลังกายของนักมวยในแต่ละวันจะแฝงอยู่กับการเคลื่อนไหวเพืื่อใช้แรงกายในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นวิถีของชาวบ้าน เป็นการฝึกซ้อมกับของใช้ กิจกรรมในการดำเนินชีวิต และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น การตักนํ้า การแบกนํ้า การตำข้าว การผ่าฟืน ปีนต้นมะพร้าว ปีนต้นหมาก เพื่อฝึกประสาทสัมผัสในร่างกายให้ตื่นตัวอยู่เสมอ

การแต่งกายชุดมวยโคราช​

          การแต่งกายของมวยไทยโคราช นักมวยจะสวมกางเกงขาสั้น และใช้ผ้าขาวม้าม้วนผูกทับบริเวณระหว่างขา ยาวคลุมมาจนถึงเอว ไม่สวมเสื้อและรองเท้า สวมมงคลที่ศีรษะตลอดเวลาที่ชก เพราะมงคลถือเป็นเครื่องรางที่สำคัญของนักมวย ซึ่งตามธรรมเนียมมวยไทยโบราณจะหยุดการต่อสู้ทันทีหากมงคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หลุดจากศีรษะ นอกจากนี้ ยังมีการนำเบาะรูปสามเหลี่ยมที่มีเชือกผูกชายมุมทั้ง 3 มุม มาใช้แทน “กระจับ” (อุปกรณ์สวมใส่เพื่อป้องกันบริเวณอวัยวะเพศ) มีผ้าประเจียด ซึ่งเป็นผ้าลงเลขยันต์และอักขระมนตร์

เอกลักษณ์ของมวยโคราช ​

          เอกลักษณ์ของมวยโคราชที่แตกต่างไปจากมวยภาคอื่น ๆ คือลักษณะการพันหมัด แบบคาดเชือก โดยจะใช้ด้ายดิบพันหมัดตั้งแต่บริเวณหมัดจนจรดข้อศอก แต่มวยไทยในภาคอื่น ๆ นั้น จะพันหมัดตั้งแต่บริเวณหมัดถึงข้อมือเท่านั้น ด้วยเอกลักษณ์แม่ไม้มวยโคราช เป็นมวยลักษณะการเตะต่อยวงกว้าง และมีแม่ไม้อันรุนแรงที่เรียกว่า “หมัดเหวี่ยงควาย”

กระบวนท่ามวยโคราช

กลุ่มที่ 1 กระบวนท่าอาวุธเบื้องต้น ท่าอยู่กับที่

กลุ่มที่ 2 กระบวนท่าอาวุธเบื้องต้น ท่าเคลื่อนที่

กลุ่มที่ 3 กระบวนท่าฝึกลูกไม้แก้ทางมวย

กลุ่มที่ 4 กระบวนท่าแม่ไม้สำคัญ แม่ไม้ครู

กลุ่มที่ 5 กระบวนท่าแม่ไม้สำคัญ แบบโบราณ

อธิบายศัพท์มวย